6 วิธีสำหรับการออกแบบเมืองสุขภาวะ (Healthy Cities) เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ในอนาคต
ปัจจุบันมหานครเมืองหลวงและเขตปริมณฑลของเราติดอยู่ในท่ามกลางฝุ่นผง PM 2.5 , รถติด , ที่อยู่อาศัยแออัด ตลอดจนการแย่งชิงทรัพยากรต่าง ๆ และยังพบว่าในเขตตัวเมืองมีการใช้พลังงานคิดเป็น 2 ใน 3 ส่วน จากพลังงานทั้งหมด อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) คิดเป็นปริมาณทั้งหมด 70% ของพื้นที่ ซึ่งปริมาณการปล่อยมลพิษนี้จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอนในอนาคต เนื่องจากมีการอพยพจากชนบทสู่พื้นที่ตัวเมืองมากขึ้น ดังนั้นในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องหาทางป้องกันเพื่อไม่ให้ติดอยู่ในสภาวะฝุ่นละอองสูงเกินมาตรฐาน(มาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร/24ชั่วโมง) ต่อไปในอนาคต
สำนักงานออกแบบและวิจัยสัญชาติดัชต์ชื่อ FABRICations ได้มีการศึกษาและพัฒนาแนวทางสร้างเมืองสุขภาวะ (กรณีศึกษา เมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์) โดยมุ่งให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน ลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อให้เมืองได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากมลพิษบนโลกนี้ และการใช้ระบบหมุนเวียนพลังงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประยุกต์ใช้พลังงานโดยเปลี่ยนเมืองให้เป็น “เมืองฟองน้ำ ” ที่ทันสมัย ดังนั้นเรามาดูกันว่าการออกแบบเมืองที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมให้วิถีชีวิตของคนไทยมีระบบการหมุนเวียนพลังงานที่ดีขึ้น ลดปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นอย่างไร ซึ่งสรุปได้ทั้งหมด 6 วิธีดังนี้
1. เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียนและลดการบริโภคพลังงานอย่างสิ้นเปลือง โดยนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในสร้างพื้นที่สาธารณะและสนับสนุนการสัญจรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ในโครงการของเมืองรอตเตอร์ดัม “Metabolism of Rotterdam” ได้มีการนำความร้อนจำนวนมหาศาลที่เหลือใช้จากพื้นที่เขตอุตสาหกรรมถูกนำกลับมาใช้กับพื้นที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ แหล่งเพาะปลูกและพื้นที่สาธารณะและต่อมาในโครงการ “Regional Spatial Agenda for Brabant” ก็ได้นำความร้อนที่เหลือจากในเมือง นำมาใช้ในการเพิ่มอุณหภูมิกับเส้นทางปั่นจักรยานบนถนน เพื่อป้องกันน้ำแข็งหิมะเกาะ ช่วยให้สามารถขับขี่จักรยานได้อย่างปลอดภัยในฤดูหนาว พลังงานต่าง ๆ ในเมืองไทยบางส่วนมีการใช้ไฟฟ้าสิ้นเปลือง หากนำมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชุมชน สวนสาธารณะ ทางเดิน รวมถึงพื้นที่สำหรับปั่นจักรยานที่ไม่มีแสงสว่างเพียงพอ รวมถึงพลังงานอื่น ๆ หากนำมาใช้ประโยชน์สำหรับกิจกรรมสาธารณะมากขึ้น จะทำให้พลังงานเกิดความคุ้มค่าอย่างมหาศาล
2.เปลี่ยนเมืองสมัยใหม่ให้กลายเป็นฟองน้ำ ที่สามารถดูดซับน้ำที่ท่วมล้นในฤดูฝนและกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในฤดูแล้งหรือยามขาดแคลน
ปัญหาน้ำท่วม ภัยแห้งแล้ง คลองเน่าเสีย ซึ่งพบบ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองปัญหาน้ำระบายออกไม่ทัน ซึ่งมาจากพื้นที่สาธารณะค่อนข้างมีน้อย หรือปล่อยรกร้างไปบ้างจึงเกิดการท่วมขัง ซึ่งหากมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนที่รกร้างให้เป็นพื้นที่สาธารณะ มีแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติในเมือง ให้มากขึ้นและเพียงพอต่อจำนวนคน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังได้บ้าง ในโปรเจค “ Ningo-Prampram urban expansion” ได้ออกแบบให้มีพื้นที่รองรับน้ำที่ล้นจากพื้นที่ในเมือง มีลักษณะเป็น ‘green fingers’ หรือพื้นที่สีเขียวที่ยื่นเข้าไปในพื้นที่เมืองตามลักษณะภูมิศาสตร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ที่จะสามารถใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกผลผลิต สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการ และพื้นที่ระบบนิเวศเพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพ
3.รวบรวมและนำส่งขยะอินทรีย์ เพื่อใช้ในการเกษตรและนำใช้ในการผลิตพลังงาน
โครงการ “Metabolism of Rotterdam” ได้ศึกษาการนำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ใหม่และพัฒนาระบบที่ใช้ในการตรวจจับสารอาหารและฟอสเฟตจากแม่น้ำลำธาร การทำเกษตรในรูปแบบเดิมสารอาหารเหล่านี้จะถูกปล่อยและไหลลงสู่แม่น้ำ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่ โดยน้ำทิ้งจากการเกษตรจะถูกหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนำมาใช้ในการผลิตพลังงานอีกด้วย นอกจากนี้ผลการศึกษายังระบุว่าการคัดแยกขยะในครัวเรือนจะสามารถช่วยให้กระบวนการผลิตพลังงานจากขยะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.สนับสนุนการนำอาคารเก่าๆกลับมาใช้ใหม่ ลดการทุบทำลายอาคาร และสร้างอาคารใหม่จากวัสดุที่มีในเขตพื้นที่ เป็นการรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่และสร้างชุมชนที่ยั่งยืน
ในประเทศไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา ก็มีการก่อสร้าง ทุบทำลายตึกหรืออาคารเยอะมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดฝุ่น ละออง PM2.5 ในปัจจุบัน จากการออกแบบของ “Bajes Kwartier” เป็นการนำเอาเรือนจำเก่า ๆ มาปรับปรุงให้เป็น ‘sustainable residential neighborhood of the future’ หรือต้นแบบพื้นที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน ที่ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดในกระบวนการก่อสร้างลงถึง 95% หากนำวิธีนี้มาปรับใช้ ก็จะช่วยลดฝุ่นลงได้เยอะเช่นกัน
5.สร้างประโยชน์จากพื้นที่รกร้างเล็ก ๆ ในเมืองเพื่อพัฒนาและนำเอาธรรมชาติเข้ามา เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในเมืองสามารถเข้าถึงและสัมผัสกับธรรมชาติได้โดยตรง
“Ecological Energy Network” เป็นการออกแบบโดยปรับพื้นที่ใต้หรือใกล้เคียงแนวสายไฟฟ้าให้เป็นเส้นทางธรรมชาติ (biodiversity corridor) ที่ใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพื้นที่เหล่านี้จะไม่มีการพัฒนาต่อและถูกทิ้ง โดยเฉพาะในพื้นที่เมือง หากเรานำพื้นที่รกร้างเหล่านี้ในประเทศไทยของเรา ( เยอะมาก ) มาใช้งานก็จะเป็นการเพิ่มคุณค่าทางธรรมชาติให้กับสภาพแวดล้อมในเมืองและชุมชนได้อีกด้วย
6.ส่งเสริมการใช้ยานพาหนะและพัฒนาระบบการสัญจรที่ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาด
ปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ก็มาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการคมนาคมขนส่งปริมาณ 20% และโรงงานอุตสาหกรรมในปริมาณ 30% และส่วนที่จากการเผาอื่น ๆ มากมาย ถ้าหากพื้นที่ในเมืองหลวงโดยเฉพาะ กทม มีการปรับมาใช้พาหนะจากพลังงานไฟฟ้าให้มากขึ้น เพื่อช่วยลดควันคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มช่องทางการจราจรในรูปแบบอื่น ซึ่งดูจากผลการศึกษา “Highway x City” ที่ถูกพัฒนาเพื่อเป็นเส้นทางสัญจรหลักของกรุงอัมสเตอร์ดัมให้มีทางเลือกที่เพิ่มขึ้นสำหรับคนเดินเท้าและจักรยาน มีสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าสำหรับยานพาหนะไฟฟ้า และเส้นทางการจราจรใต้ดิน
ทั้ง 6 วิธีหากนำมาปรับใช้ในการออกแบบเมืองที่ดีในประเทศไทยที่ประสบปัญหาภาวะฝุ่น PM 2.5 ในขณะนี้ รับรองได้ว่าปัญหาฝุ่น หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะลดลงไป สุขภาพผู้คนในเมืองและชุมชนก็จะดีขึ้นอีกด้วย รวมทั้งมีพลังงานหมุนเวียนให้ใช้ได้โดยไม่มีหมด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนด้วย ที่จะช่วยให้เมืองน่าอยู่ขึ้น
ท่านสามารถเรียนรู้และศึกษาการใช้งาน Autodesk Revit เพื่อเพิ่มศักยภาพในออกแบบสถาปัตยกรรม กับทาง Synergysoft Education Center ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบ คอร์สที่เราเปิดสอนได้ที่ http://synergysoft.co.th/educenter/
ขอบคุณบทความและภาพจาก ArchDialy.com
ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่