7 นวัตกรรมเทคโนโลยีกำลังจะมาดิสรัปอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปี 2020
เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันถูกพัฒนาให้ทันสมัยและใช้งานได้จริงมากขึ้น ในวงการก่อสร้างเริ่มมีการประยุกต์นำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวก ความรวดเร็วและแม่นยำในกระบวนการทำงานมากขึ้น มาดูกันว่าเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะมาถึงอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปี 2020 มีอะไรบ้าง
1.เทคโนโลยีบล็อกเชน(Blockchain) ช่วยเก็บรวบรวมและอัปเดตข้อมูลสำหรับงานก่อสร้าง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใหม่และสามารถนำไปใช้ร่วมกันได้
หัวใจสำคัญในงานก่อสร้างคือระบบงานก่อสร้างที่มีการเชื่อมต่อถึงกันทุกฝ่าย จึงต้องมีการสร้างความเชื่อมต่อแบบ real-time ให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาปนิก วิศวกร หรือ ผู้รับเหมาก่อสร้าง จำเป็นจะต้องใช้ทั้งข้อมูลและการสื่อสารเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน ในการนำไปสู่กระบวนการก่อสร้าง การจัดการที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลัน
เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ดิสรัปมากที่สุดในการก่อสร้าง เพราะพลังของข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูงและมีความโปร่งใส , การเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูล , การใช้งานและความหลากหลายของธุรกรรม ยิ่งไปกว่านั้นระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ยังสามารถให้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญแก่นักวางแผน , สถาปนิก และวิศวกร เพื่อใช้พิจารณาตลอดกระบวนการวางแผนงานก่อสร้าง
2.เครือข่าย 5G เพื่อการเชื่อมต่อที่รวดเร็วในไซต์งาน
เครือข่าย 5G คาดว่าจะเปิดตัวทั่วโลกภายในปี 2020 และจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการก่อสร้างในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยการเชื่อมต่อที่รวดเร็วและเชื่อถือได้มากขึ้น , การออกแบบก่อสร้างโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และทำให้ BIM (Building Information Modeling) จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในส่วนของเครือข่าย 5G จะช่วยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการก่อสร้างมากขึ้น เพื่อเข้าถึงข้อมูลโครงการที่ดำเนินอยู่ทั้งหมดบนแพลตฟอร์มการออกแบบเดียวกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี 5G ยังมีการปรับปรุงการสื่อสารในระยะไกลและการส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและทำงานอย่างปลอดภัย 5G ยังทำให้สามารถพัฒนาอุปกรณ์ระยะไกลได้ไกลขึ้นและหุ่นยนต์ที่สามารถรับรู้สัญญาณได้,รับส่งข้อมูล,แจ้งพิกัดของแผนที่แบบเสี้ยววินาที , การพูดคุยกันระหว่างคนกับเครื่องและเครื่องกับเครื่องจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดย IOT (Internet of Things) จะยิ่งเข้ามามีบทบาท การทำงานในรูปแบบของ AR (Augmented Reality) หรือ การรวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือน หรือ VR (Virtual Reality) การจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง สิ่งเหล่านี้จะเกิดการนำเข้ามาใช้ในงานในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การแพทย์ การเงิน หรือการก่อสร้าง และอื่น ๆ มากมาย
3.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (ARTIFICIAL INTELLIGENCE : AI) และคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ (MACHINE LEARNING : ML)
เทคโนโลยี AI , ML เริ่มเข้ามาช่วยมีส่วนช่วยผู้ก่อสร้างมากขึ้น เพื่อหาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด มีความเสี่ยงน้อยที่สุดหรือใช้เวลาน้อยที่สุดได้ ตัวอย่างเช่นในอดีต เมื่อมีการขุดเจาะแต่ละครั้ง ต้องใช้การวางแผน รวบรวมข้อมูลที่แน่นอน เพื่อลดความเสี่ยง และบางครั้งก็คำนวณผิดพลาดไปบ้าง ในตอนนี้เทคโนโลยี AI ถูกนำไปใช้ในการจัดตารางเวลา กำหนดระยะเวลาในแต่ละงาน ลำดับความสำคัญ และคำนวณค่าใช้จ่ายในการทำงานตามที่ควรจะเป็น ตัวอย่าง เช่น TradeTapp และ โปแกรม Autodesk BIM 360 ที่ใช้ AI เพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้างทำงานง่ายขึ้นในการให้ข้อมูลจากกรณีที่มารับงานช่วงต่อ วิเคราะห์ข้อมูลโครงการเพื่อทำการตัดสินใจและรวมถึงคำแนะนำการลดความเสี่ยงต่าง ๆ ผู้ใช้สามารถกำหนดเองได้ เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานแต่ละโครงการ
4.การก่อสร้างแบบหมุนเวียน นำกลับมาประยุกต์ใช้ใหม่ ( Circular Construction )
ประเทศไทยของเรามีขยะพลาสติกปีละราว ๆ 1.5 ล้านตันที่ยังไม่ถูกจัดการอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ การสร้างคุณค่าสูงสุดอย่างยั่งยืนให้กับพลาสติกตั้งแต่ต้นทางการผลิต การใช้ และวนกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำของที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาประยุกต์ใหม่ เช่น “ถนนพลาสติกรีไซเคิล (PlasticRoad) ” ที่มีส่วนผสมของยางมะตอยกับ “พลาสติกที่ใช้แล้ว” การใช้งบประมาณในการบำรุงรักษาจะน้อยกว่าถนนราดยาง และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่ามาก ทั้งยังมีสภาพผิวที่แข็งแรงกว่าถนนราดยาง และทนทานในอุณหภูมิ ตั้งแต่ -40 ถึง 80 องศาเซลเซียล นอกจากนี้ยังง่ายต่อการฝังสายเคเบิลและท่อต่างๆ ใต้พิ้นผิวถนนและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากถนนพลาสติกน้อยกว่าถนนลาดยางมะตอย ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 1.6 ล้านตันต่อปี ไอเดียนี้มาจากเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ผุดไอเดียสุดเจ๋ง กับโครงการสร้างถนนด้วยพลาสติกรีไซเคิลที่แรกในโลก และปัจจุบันเนเธอร์แลนด์ประสบความสำเร็จกับการสร้างถนนที่ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิลสำหรับเลนจักรยานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
5.ชุดเกราะป้องกัน ( Smart wearables ) เพื่อความปลอดภัยในการทำงานในไซต์งานก่อสร้าง
เมื่อเราอยู่ในพื้นที่ไซต์งานก่อสร้าง ไปตรวจความเรียบร้อย หรือทำการก่อสร้าง สิ่งที่เกิดขึ้นไม่คาดคิดในการปฏิบัติงานในงานก่อสร้าง คืออุบัติเหตุซึ่งการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรพย์สิน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมอุตสาหกรรมจึงกำหนดให้คนงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันเช่น หมวกแข็ง แว่นตา เสื้อนิรภัยและรองเท้าบูท แต่ถ้าหากสวมใส่ชุดหุ่นยนต์คล้ายเทอร์มินอลจะช่วยรักษาความปลอดภัยกับชีวิตคุณได้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยให้คุณยกของได้หลายร้อยกิโลอย่างง่ายดาย โดยใช้เซ็นเซอร์ในชุดหุ่นยนต์นี้ส่งพลังงานให้ผู้สวมใส่ยกของได้สบายและลดโอกาสการบาดเจ็บจากการทำงาน
6.การก่อสร้างแบบสำเร็จรูปและแบบแยกส่วน สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ชานเมืองได้
ปัจจุบัน บ้านสำเร็จรูปได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภัยพิบัติ กำลังเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งเป็นบ้านที่ราคาถูกกว่าบ้านที่ก่อสร้างแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีราคาแพงเช่นบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโกของแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันได้มีการพิสูจน์กันแล้วว่า บ้านสำเร็จรูปยุคใหม่ ได้พัฒนาขึ้นจนมีความทนทานไม่แพ้บ้านที่สร้างด้วยอิฐหรือปูน มีความสวยงามหลากหลาย ตอบโจทย์ด้านรสนิยมของผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี และเชื่อถือได้มากกว่า
7.การจัดการอุตสาหกรรมก่อสร้างและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint)
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ก่อสร้างหลายอย่าง มักจะมีสารที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงมีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอน จะมีการนำมาใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งจะสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้จริง ๆ ในโครงการสูงถึง 30% โดยการใช้เครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณคาร์บอนที่บรรจุในวัสดุก่อสร้าง โดยผู้รับเหมา (contractors) และนักออกแบบ (designers) สามารถตรวจสอบข้อมูลวัสดุก่อสร้างทั่วไปได้ และสร้างคาร์บอนฟุตปริ้น (Carbon Footprint) ในโครงการได้ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ โดยทาง Skanska’s บริษัทจากสหรัฐอมเมริกาได้ผลิตเครื่องมือออกมาในรูปแบบโอเพนซอสท์(open-source) เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ให้ข้อมูลที่แท้จริงและแม่นยำ
นอกจากเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างข้างต้น ยังมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เช่น หุ่นยนต์ก่อสร้าง , รวมถึงคอนกรีตแบบต่าง ๆ ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมถึงหลายกิจกรรมใน อุตสาหกรรมก่อสร้าง (Architecture, Engineering and Construction Industry หรือ AEC Industry) ที่ครอบคลุมตั้งแต่งานสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และงานก่อสร้าง ตลอดจนการบริหารจัดการงานอาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการทำงานของเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง ดังนั้น ผู้ประกอบการ วิศวกร ควรศึกษาข้อดีข้อเสียของแต่ละเทคโนโลยี เพื่อปรับตัวนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด
ขอบคุณบทความจาก redshift By autodesk.com
ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่