คุณรู้จักตึกเอมไพร์สเตทใช่มั้ย ลองจินตนาการรูปแบบตึกให้เป็นสถาปัตยกรรมสไตล์อื่นอีก 9 แบบดูสิ
ทุกคนจดจำว่า Empire State Building เป็นตึกแรกที่มีมากกว่า 100 ชั้น ที่ใช้แนวคิดที่ทันสมัยของตึกระฟ้า
ด้วยตัวตึกเป็นสไตล์ Art Deco ที่ติดตาพวกเรามานาน จนทำให้นึกไม่ออกว่าหากตึกมีหน้าตาเป็นสไตล์อื่นจะเป็นอย่างไร ลองมาดูในรูปแบบอื่นกัน
- Ancient Roman (โรมันโบราณ)
สถาปัตยกรรม Roman ตามความคลาสสิค เช่น Doric Lonic และ Corinthian ที่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความเคารพในมรดกกรีกโบราณ สถาปนิกชาวโรมันคือนักประดิษฐ์ที่ยอดเยี่ยมและพัฒนาเทคนิคก่อสร้างใหม่ๆ ด้วยตัวของพวกเขาเอง พวกเขาเป็นอารยธรรมแรกๆ ที่ใช้ซุ้มประตูเพื่อรองรับโครงสร้าง ตามที่ได้เห็นในโครงสร้างที่เป็นสัญลักษณ์หลายๆ อย่าง เช่น ซุ้มประตู triumphal และอัฒจันทร์ เพื่อให้อาคารของพวกเขาดูมีเอกลักษณ์ ปัจจุบันก็ยังมีคนใช้เสาโรมันอยู่ แม่จะไม่ได้ออกแบบมันไว้รับน้ำหนักก็ตาม
- Renaissance (ยุคฟื้นฟูศิลปะ)
สถาปัตยกรรมเรเนสซองเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ก่อนศตวรรษที่ 15 สถาปนิกของยุคสมัยนั้นปฎิเสธความซับซ้อนสไตล์โกธิค แทนที่จะเลือกกลับไปสู่ความเรียบง่ายและสัดส่วนที่สมดุลย์ของโรมันคลาสสิค ซุ้มโค้งมนและโดมที่ถูกฟื้นฟูและสถาปนิกได้พยายามที่จะสร้างโครงสร้างซึ่งจะดึงดูดทั้งอารมณ์และเหตุผล อย่างอาคาร เช่น Florence Cathedral และ Basilica of San Lorenzo พิสูจน์ได้ว่าพวกเขาประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของพวกเขา
- Gothic (โกธิค)
มีต้นกำเนิดมาจากตอนเหนือของฝรั่งเศสประมาณปี 1140 สไตล์โกธิคเป็นอาคารทางวิศวกรรมที่สวยงามและน่าประทับใจที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป โบสถ์สไตล์โกธิคและคริสตจักรสามารถแยกได้โดยโค้งแหลม โครงสร้างทรงโค้งสัน และเสาค้ำยันผนังลอย การก่อสร้าง เช่น Notre-Dame in Paris และ London’s Westminster Abbey โครงสร้างทรงโค้งสัน เสาค้ำยันผนังลอย และโค้งแหลมทั้งหมดถูกออกแบบเพื่อเพิ่มความสว่างจากธรรมชาติตามช่องว่าที่อยู่สูงของอาคาร
- Art Nouveau
เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 1890 การเคลื่อนไหวของ Art Nouveau ได้สร้างอาคารศิลปะที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ สถาปนิกทั่วยุโรปและอเมริกาใช้วัสดุ เช่น กระจกและเหล็กดัด เพื่อสร้างรูปร่างและเส้นโค้งที่ประณีตอย่างยอดเยี่ยมด้วยรูปแบบธรรมชาติ บางทีตัวอย่างที่รู้จักกันดีของสไตล์นี้สามารถหาได้ในบาร์เซโลน่า ต้องขอบคุณตำนานอย่าง Antoni Gaudí ผู้ออกแบบแลนด์มาร์กของเมืองหลายๆ แห่ง
- สถาปัตยกรรมเก่าแก่ของญี่ปุ่น
เต็มไปด้วยขนบธรรมเนียมและเน้นการกลมกลืนกับธรรมชาติ สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น aka 日本建築 Nihon kenchiku มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาก โครงสร้างมักจะสูงขึ้นเล็กน้อยจากพื้น กับประตูเลื่อนแทนที่จะเป็นผนัง ช่วยให้สามารถปรับแต่งพื้นที่ได้สำหรับโอกาสต่างๆ วัดและศาลเจ้าที่น่าสนใจหลายๆ แห่งของเมืองที่สร้างขึ้นในรูปแบบนี้ยังคงมีอยู่ อาคารญี่ปุ่นแต่ดั้งเดิมถูกสร้างด้วยไม้เนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในตอนนั้น แต่ก็ยังเกิดแรงต้านทานของวัสดุต่อแผ่นดินไหว
- Postmodern architecture (สถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่)
หลังปี 1960 สถาปนิกหลายคนเริ่มตั้งคำถามถึงมุมมองสมัยใหม่ว่าสถาปัตยกรรมมีศักยภาพพอที่จะแก้ไขปัญหาของสังคมได้หรือไม่ พวกเขาต้องเคลื่อนย้ายออกจากแบบแผนเดิมๆ และต้องการความหลากหลายของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ การค้นพบความอิสระใหม่นี้ส่งผลในรูปแบบที่ไม่สามารถกำหนดได้ เนื่องจากสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่หลายแห่งต่อต้านการแยกประเภท
- Brutalism (คอนกรีตเปลือย)
หลายปีที่ผ่านมา Brutalism ได้รับการ demonized และมีชื่อเสียงในมาตรการที่เท่าเทียมกัน ชื่อถูกคิดขึ้นโดยนักวิจารณ์สถาปนิกชาวอังกฤษ Reyner Banham ในปี 1955 เพื่ออธิบายการทำงานของสถาปนิก Peter และ Alison Smithson จากยุค 1970 ป้อมปราการเหล่านี้มีลักษณะคล้ายกับเสาหินคอนกรีตที่ไม่เป็นที่นิยมอย่างมาก ซึ่งเพิ่งมาได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้เมื่อผู้คนใหม่ๆ เริ่มชื่นชมอาคาร เช่น Preston Bus Station และ Park Hill ในเชฟฟิลด์ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กทางสถาปัตยกรรม ในขณะที่อาคาร Brutalist จะเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ที่แรกที่ใช้คอนกรีต แต่พวกเขาเป็นที่แรกที่ใช้มันเพื่อสร้างส่วนหน้าของอาคาร โดยก่อนหน้านี้ คอนกรีตมักถูกซ่อนอยู่ใต้พื้นผิว
- Deconstructivism (คตินิยมเปลี่ยนแนว)
ลักษณะคล้ายกับ postmodernism แต่ Deconstructivism ไม่หมุนรอบอุดมการณ์ที่สอดคล้องเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำลายกฎสถาปัตยกรรมแบบดั่งเดิม สถาปนิก Deconstructivist ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่าอาคารจำเป็นต้องดูสอดคล้องกันและถูกจัดระเบียบ พวกเขาแทนที่จะออกแบบโครงสร้างที่แตกออกเป็นส่วนประกอบที่ดูเหมือนไม่ได้เชื่อมต่อกัน ซึ่ง Guggenheim Museum ใน Bilbao อาจจะเป็นตัวอย่างที่รู้จักกันดีของรูปแบบ mind-bending นี้ Deconstructivism เกิดจากปรัชญาของ Derrida ซึ่งจะพยายามทำลายความเชื่อที่คิดไว้จากเหตุผลและตรรกะโดยรอบ
- "Sustainable" architecture (สถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน)
สถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนกำลังเพิ่มขึ้นในโลกที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างทุกวันนี้ วัสดุธรรมชาติและพลังงานที่ไม่มีวันหมดอายุ เช่น คอนกรีต ไม้ และหิน พร้อมกับแก้วรีไซเคิลและไม้ที่ถูกเลื่อยออกหรือแม้แต่พรรณไม้มีชีวิตที่จะใช้ ในการประมวลผลภาพอีกครั้งของพวกเรา โครงสร้างที่ยึดติดกับส่วนกลางของอาคารที่ช่วยให้การสร้าง ‘green-wall’ ที่ประกอบด้วยพืชหลายพันชนิด สถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนไม่เพียงแค่เกี่ยวกับวัสดุเท่านั้น นักออกแบบยังมุ่งเน้นไปยังด้านพลังงานที่จะใช้ในโครงสร้างด้วยเช่นกัน The Shanghai Tower จะมีกังหันลมที่ด้านบนของตึกซึ่งจะใช้พลังงานจากแสงด้านนอก
ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่