ญี่ปุ่นเริ่มสร้างเมืองใหม่อีกครั้งด้วย BIM
หลังจากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติในเมืองยามาดะ (เมืองตกปลา) ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม 2011 โดยเกิดแผ่นดินไหวขนาด -9 และเกิดสึนามิที่มีคลื่นสูงมากกว่า 133 ฟุต มีผู้เสียชีวิตเกือบ 16,000 คน และหายสาบสูญอีกหลายราย อาคารบ้านเรือนเสียหายมากกว่า 120,000 หลัง ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และเป็นหนึ่งใน 5 ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในโลก ทางเมืองยามาดะจึงได้ทำการสร้างเมืองใหม่อีกครั้งอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ประสบภัยสามารถกลับบ้านได้เร็วที่สุด
ทางบริษัท CTI Engineering Co. ได้นำ Building Information Modeling (BIM) มาใช้ตลอดทั้งโครงการตั้งแต่การสำรวจพื้นที่ไปจนถึงการออกแบบบ้านให้ผู้ประสบภัย
การก่อสร้างบนพื้นที่สูง
ยามาดะเป็นเมืองประมงเล็กๆ ในจังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์ในครั้งนี้เกือบทำให้เมืองถูกจมอยู่ใต้น้ำ ทางเมืองจึงเลือกนำระบบของ CTI มาใช้ในการฟื้นฟูเมืองใหม่แบบโตเกียว ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปยังตัวเรือน เพื่อช่วยสร้างเมืองที่แข็งแรงมากขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่ง CTI ได้ประเมิณค่าใช้จ่ายของโครงการนี้ไว้ประมาณ 360 ล้านเหรียญ
โครงการสร้างเมืองใหม่นี้มีความซับซ้อนกว่าโครงการอื่นๆ ทั่วไป จึงทำให้ CTI จำเป็นต้องมีการวางแผนและการสื่อสารแผนงานต่างๆ ให้กับผู้ร่วมงานอย่างถูกต้องครบถ้วนที่สุด และต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพือความแข็งแรงทางด้านโครงสร้าง แต่เนื่องจากการก่อสร้างอื่นๆ ที่เกิดขึ้นรอบๆ พื้นที่นี้ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อโครงการนี้ได้ เช่น เกิดความล่าช้าเนื่องจากขาดกำลังคน
โมเดล BIM สำหรับกระบวนการ
ซอฟต์แวร์ Autodesk Civil 3D ถูกนำมาใช้ในการสร้างโมเดล 3D เพื่อให้สามารถจินตนาการได้ถึงภาพของโครงการและกระบวนการออกแบบต่างๆ ในการก่อสร้าง รวมถึงนำมาใช้ในการอธิบายขั้นตอนการทำงานต่างๆ ในที่ประชุม
ส่วน BIM 360 จะนำมาใช้ในการตรวจจับการปะทะกันเพื่อให้ CTI สามารถระบุปัญหาและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สามารถตรวจจับและหลีกเลี่ยงวัตถุใต้ดินที่ถูกฝังโดยสึนามิได้อีกด้วย รวมถึงการแชร์ภาพการก่อสร้างและการสร้างโมเดล Revit 3D ร่วมกับสมาชิกในโครงการได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการก่อสร้างทั้งหมด
การสำรวจพื้นดินและก่อสร้างถนน
CTI ได้เปลี่ยนมาใช้ความสามารถทางด้าน UAV photogrammetry ของ ReCap Photo ที่มีใน Autodesk ReCap Pro มาใช้เพื่อจัดการที่ดินสำหรับการถากถางและถมที่อย่างรวดเร็ว มีการใช้เทคนิคถ่ายภาพ photogrammetric แบบ Structure from Motion (SfM) เพื่อไปเก็บเป็นข้อมูลแบบ Point cloud และนำไปสร้างแบบจำลองความสูงของพื้นผิวดินและโมเดล 3D อีกทั้งการใช้ UAV จะช่วยให้ใช้เวลาสำรวจพื้นดินลดลง 5 - 7 วัน และช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้สำรวจมากขึ้นอีกด้วย เพราะผู้สำรวจไม่จำเป็นต้องเดินสำรวจพื้นที่ทั้งหมดที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
Augmented Reality (AR) ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างถนนและคูคลอง ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องใช้อุปกรณ์สวมใส่เพื่อให้เห็นภาพข้อมูลโมเดล 3D ในแบบที่ปลอดภัยและเรียลไทม์ โดยการใช้ AR จะทำให้สามารถรักษาคุณภาพของงานไปพร้อมกันการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ถึง 48% เมื่อเทียบกับวิธีเดิม
การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน
Civil 3D และ InfraWorks จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการสื่อสารและการทำงานร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ การใช้ฟีเจอร์ collaboration ของ Civil 3D ทำให้สมาชิกในโครงการทั้งหมดสร้างการตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยลดจำนวนครั้งในการจัดประชุมความคืบหน้าได้ถึง 30%
การอัพโหลดข้อมูลขึ้นไปบนคลาวด์ ทำให้ทุกฝ่ายสามารถรับรู้ข้อมูลและแชร์ปัญหาต่างๆ กับทีมได้และสามารถเลือกใช้โซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้
ความยืดหยุ่นและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมระหว่างการก่อสร้างก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง CTI จึงเปลี่ยนมาใช้สายพานลำเลียงแทนรถดัมพ์ขนาดใหญ่เพื่อเคลื่อนย้ายดิน โดยใช้ Civil 3D สร้างโมเดล 3D ของสายพานและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งการสร้างโมเดลทำให้สามารถรับรู้ถึงปัญหาและแก้ปัญหาได้ก่อนที่จะเริ่มก่อสร้างจริง
Urban Renaissance Agency ที่ดูแลการพัฒนาที่ดินและที่อยู่อาศัยของเมืองยามาดะได้ตัดสินใจที่จะยกระดับของเขื่อนกั้นน้ำและการสร้างพื้นที่ในเมืองใหม่บนเนินเขา ซึ่ง CTI จึงต้องศึกษาผลกระทบของแสงอาทิตย์ตามเวลาและจุดต่างๆ เพื่อให้ได้รับแสงที่เหมาะสมที่สุด โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์แสงอาทิตย์ chronological simulation
การสร้างชุมชนที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
BIM จะช่วยให้การออกแบบเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการสร้างโมเดล 3D จะช่วยให้เห็นภาพการออกแบบ รับรู้และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ก่อนการก่อสร้างจริง อีกทั้งยังช่วยลดเวลาดำเนินการและการก่อสร้างลงได้ถึง 2 เดือน ลดระยะเวลาการสำรวจพื้นที่ลงได้ และลดจำนวนแรงงานในการดำเนินงานต่างๆ ได้
ซึ่งในอนาคต CTI ก็ยังมีแผนที่จะใช้ BIM ในการบำรุงรักษาเมืองยามาดะและมีความตั้งใจที่จะเปิดเผยข้อมูลของการค้นคว้าและก่อสร้าง เพื่อให้องค์กรอื่นๆ นำไปศึกษาและนำ BIM มาใช้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งโครงการ
ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่