การพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างในยุคดิจิตอล
เมื่อโครงการต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และบริษัทเองก็มีความคาดหวังที่จะส่งงานได้รวดเร็วขึ้น ภายในงบประมาณที่จำกัด เทคโนโลยีก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ในกระบวนการทำงานออกแบบและก่อสร้าง ด้วยการทำให้กระบวนการทำงานมีความง่ายขึ้นและประสานการแก้ไขปัญหาที่ว่องไวยิ่งขึ้น เข้าไปช่วยในขั้นตอนการทำงานของเรา ทำให้ค่าใช้จ่ายเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการที่มีความซับซ้อนถูกลดลงไปด้วย หากลองมองดูแล้ว จะพบว่า เทคโนโลยีมีส่วนในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
สนามบินนานาชาติซานฟรานซิสโก (San Francisco International Airport: SFO) เป็นศูนย์กลางทางการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ซึ่งเราสามารถพบได้กับความต้องการของเหล่านักเดินทางรุ่นใหม่ รวมถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้มาเยือน สนามบิน SFO แห่งนี้ ได้ทำการปรับปรุงอาคาร Terminal 1 หนึ่งในอาคารผู้โดยสารที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด ซึ่ง T1 ถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 และเมื่อเวลาผ่านไป สถานที่แห่งนี้ก็ไม่เพียงพอต่อการรองรับจำนวนผู้โดยสารกว่าล้านคนในแต่ละปีได้อีกต่อไป
ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design
เมื่อการก่อสร้างเสร็จแล้วในปี ค.ศ.2022 อาคาร T1 จะยกระดับมาตรฐานการจัดการของ SFO เทียบเท่าระดับ World-class พร้อมกับสร้างประสบการณ์การเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความคาดหวังที่จะคว้ารางวัลด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาให้ได้ และนี่คือโครงการปรับปรุงที่ใช้ระยะเวลา 6 ปี มูลค่าการก่อสร้างกว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือได้ว่าเป็นการลงทุนด้านสนามบินครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ส่วนสำคัญของโครงการนี้ คือ การก่อสร้าง Boarding Area ใหม่ สำหรับรองรับผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง เป็นพื้นที่รวมกว่า 500,000 ตารางฟุต เมื่อแล้วเสร็จนั้น Boarding Area B (BAB) จะประกอบไปด้วย Gate ทั้งหมด 25 จุด โดยในนั้นเป็น Swing Gate ถึง 7 จุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศสามารถไปยังพื้นที่ของด่านศุลกากรและตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้โดยตรง นอกจากนี้ภายในอาคารผู้โดยสารยังมีจุดศูนย์รวมการควบคุมความปลอดภัยจุดใหม่ ระบบควบคุมสัมภาระที่ล้ำสมัย พื้นที่ร้านค้าและร้านอาหาร รวมไปถึงทางเดินเชื่อมต่อหลังจุดควบคุมความปลอดภัยต่าง ๆ
สนามบินแห่งนี้ต้องการยกระดับการบริการให้ดียิ่งขึ้นเทียบเท่าระดับ World-class และเป็นโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังจะได้รับรางวัล LEED ระดับ Gold แต่การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้นั้น จึงต้องมีการขจัดรูปแบบอาคารแบบเดิมทิ้งไป พร้อมกับปรับปรุงขึ้นมาใหม่จากส่วนเหล่านั้นอีกครั้ง
" เป้าหมายในครั้งนี้ คือการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารทั้งหลัง โดยที่ไม่ต้องปิดทำการ "
ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design/
สร้างทีมผู้ออกแบบ
การออกแบบโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือกันของกลุ่มบริษัทจากนานาชาติ ทั้ง HKS, Woods Bagot และองค์กรธุรกิจท้องถิ่นที่เป็นหุ้นส่วนกับ ED2 International รวมไปถึง Kendall Young Associates (KYA) ที่สามารถนำพรสวรรค์ทางการออกแบบถ่ายทอดออกมาสู่ Project สำคัญอย่าง Boarding Area B ที่มี gate ถึง 25 จุด นอกจากนั้นยังได้ TSAO Design Group มาช่วยในเบื้องต้นและเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านการออกแบบ
โดยตัวโครงการ เป็นโครงการที่มีความซับซ้อนทางด้านการออกแบบและก่อสร้างเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากผู้ร่วมออกแบบที่มากมาย ทั้ง HKS | Woods Bagot | ED2 | KYA และจะส่งต่อการออกแบบไปยัง Austin Webcor JV ที่ร่วมมือกันระหว่าง Austin Commercial และ Webcor Builders ที่จะเข้ามาช่วยรับหน้านี่ในด้านการจัดการงานออกแบบโครงการและขั้นตอนการก่อสร้าง
โครงการนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสนามบินและหน่วยงานภาครัฐที่บริหารเมืองซานฟรานซิสโก โดยสิ่งสำคัญที่ทีมผู้ออกแบบเล็งเห็นคือ การรวมเอาความต้องการหลักจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ตั้งแต่วิธีการค้นหาความต้องการส่งต่อไปยังฝ่ายดูแลงานศิลป์ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ความต้องการด้านการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้คือการออกแบบขั้นสูงสุดเพื่อประสบการณ์ของแขกผู้มาเยือนที่ซึ่งทาง SFO รู้จักดี
สู่การพัฒนามุมมองในการออกแบบ
การพัฒนามุมมองในการออกแบบที่เกิดจากความร่วมมือกันภายในโครงการนี้ ทางทีมผู้ออกแบบและตัวแทนจากสนามบินได้ร่วมกันทำ Workshop และนำข้อมูลดังกล่าวจากผู้เกี่ยวข้องมาจัดอันดับหาผลสรุป โดยสิ่งที่ที่ผู้ออกแบบค้นพบจาก Workshop ในครั้งนี้ คือ พวกเขาต่างเห็นถึงภาพของอาคารผู้โดยสารที่ให้อารมณ์ความรู้สึกอันสื่อถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมืองซานฟรานซิสโก เฉกเช่นเดียวกับที่ชาวเมืองรู้สึก ซึ่งจะตราตรึงความงดงามของการเดินทางไว้ให้กับผู้ที่ได้มาเยือน
ด้วยแนวคิด “Bay Area Naturalism” ทางทีมผู้ออกแบบ จึงได้ค้นหาวิธีที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและมีความเอนกประสงค์ไปด้วย ซึ่งจะต้องสามารถรองรับให้เพียงพอกับจำนวนของผู้โดยสารที่จะมีมากขึ้นในอนาคตได้ จากที่ Carsten Voecker ผู้บริหารของ Woods Bagot กล่าวไว้ว่า “ อาคาร Terminal 1 จะมีความคึกคักมากขึ้นไปอีก จากจำนวนผู้โดยสารราว 7 ล้านคนต่อปีที่เข้ามาใช้งาน และผู้โดยสารเหล่านี้ก็จะค้นหาสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมและเข้ากันกับความต้องการส่วนตัวของพวกเค้า ”
จากความร่วมมือข้างต้นที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการนำพาทุกคนไปสู่ความสำเร็จของโครงการนี้ได้ ถูกเริ่มต้นขึ้นด้วยการก่อสร้างห้องขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Big Room” ที่มีพื้นที่ราว 33,000 ตารางฟุต โดยสร้างขึ้นในบริเวณพื้นที่รอบนอกของสนามบิน เพื่อเป็นพื้นที่ไว้ให้สำหรับทีมงานผู้ออกแบบ วิศวกร ผู้รับเหมา รวมกันกว่า 200 ชีวิตที่จะมาร่วมมือกันและประสานการทำงานกันในทุกขั้นตอนของโครงการนับจากนี้
ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design/
ผสานเทคโนโลยีด้านการออกแบบ
การประสานงานระหว่างบริษัทต่าง ๆ ภายในโครงการสนามบินนานาชาติแห่งนี้ ถือได้ว่ามีความยากไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงกลุ่มตัวแทนที่ร่วมในการออกแบบ-ก่อสร้าง หรือแม้แต่ส่วนงานอื่น ๆ ที่ดำเนินงานของตนเองเพื่อให้สนามบินเปิดทำการได้ตามปกติในทุก ๆ วัน ซึ่งก็ไม่มีหน้าที่ไหนเลยที่ดูเป็นเรื่องง่าย
Pardis Mirmalek หัวหน้าของฝ่ายเทคโนโลยีด้านการออกแบบของ Woods Bagot ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการผสานขอบข่ายงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดความกลมกลืนกันระหว่างรูปแบบของการออกแบบที่หลากหลายกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มากมายในโครงการ
Crystal Barriscale จาก HKS Architects อธิบายเพิ่มเติมว่า “มันเป็นทีมงานที่ค่อนข้างจะมีความซับซ้อนเพราะเราต้องการเครื่องมือที่เหมาะสมในด้านต่างๆเข้ามาใช้ในการทำงานบน Platform ซึ่งพวกเราจะอัพเดทซึ่งกันและกัน และยังสามารถเก็บบันทึกความเป็นไปของตัวโครงการได้ด้วย โดยในตอนแรกที่พวกเราได้ริเริ่มโครงการนั้น ความท้าทายหลักอย่างหนึ่งที่เราต้องเผชิญเลย คือ เราจะมีวิธีไหนที่จะสามารถทำงานร่วมกับทีมที่ปรึกษาที่มีไม่น้อยกว่า 24 ทีม รวมถึงผู้ก่อสร้างที่เป็นทีมขนาดใหญ่ได้อย่างราบรื่น”
การจัดการกับความซับซ้อนของตัวโครงการนั้น ทางทีมงานได้เลือกสรรเทคโนโลยีที่ช่วยในการออกแบบใหม่ล่าสุดมาช่วยในการทำงาน ซึ่งนั่นก็รวมถึง BIM 360 Design (หรือเดิมทีคือ Collaboration for Revit: C4R) โดยได้นำมาใช้อย่างครอบคลุมในการประสานงานกับทุก ๆ ส่วนงาน ซึ่งมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ปรึกษา ฝ่ายผู้รับเหมา รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องด้านอื่น ๆ ทั้งหมดด้วย
การประสานงานกันผ่านระบบ Cloud สามารถทำให้ผู้เกี่ยวข้องในส่วนต่าง ๆ สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใจตรงกัน อย่างที่ William Wallace สถาปนิกโครงการ Woods Bagot กล่าวไว้ว่า “ มันช่วยเราในการเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างบริษัททั้งสี่แห่งที่มาร่วมกันออกแบบ ด้วย Model เพียงหนึ่งเดียวบนระบบ Cloud ”
ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design/
นอกเหนือไปจากการทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้รับเหมาเห็นภาพความเข้าใจร่วมกันได้แล้วนั้น การประสานงานกันผ่านระบบ Cloud ยังมีส่วนช่วยทีมผู้ออกแบบจากบริษัทต่าง ๆ โดยการถ่ายโอน (Synchronize) ข้อมูลจากสตูดิโอที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเดิมทีนั้นปัญหาด้านภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยหลักที่สร้างอุปสรรคในขั้นตอนการประสานงานการออกแบบอยู่เสมอมา แต่ด้วย Model ที่อยู่บน Cloud-Base ทำให้เสมือนว่าได้ทำงานร่วมกันอยู่ในห้องขนาดใหญ่ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปด้วยตนเอง
Pardis Mirmalek กล่าวว่า “ โครงการที่มีความซับซ้อนในระดับนี้ต้องการบุคคลที่มีความสามารถจากทั่วทุกมุมโลกมาทำงานร่วมกัน ซึ่งเรามีสมาชิกในทีมที่ทำงานร่วมกันจากเมืองต่าง ๆ ทั้งซานฟรานซิสโก, นิวยอร์ค, เมลเบิร์น, นิวเดลี และดูไบ โดยที่พวกเราได้เห็น Model ที่อัพเดทการออกแบบล่าสุดเสมอ ”
ที่มา : https://projectdelivery.autodesk.com/blog/airport-design/
วิสัยทัศน์สำหรับอนาคต
เมื่อโครงการต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และบริษัทเองก็มีความคาดหวังที่จะส่งงานได้รวดเร็วขึ้น ภายในงบประมาณที่จำกัด เทคโนโลยีก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ในกระบวนการทำงานออกแบบและก่อสร้าง ด้วยการทำให้กระบวนการทำงานมีความง่ายขึ้นและประสานการแก้ไขปัญหาที่ว่องไวยิ่งขึ้นเข้าไปช่วยในขั้นตอนการทำงานของเรา ทำให้ค่าใช้จ่ายเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการที่มีความซับซ้อนถูกลดลงไปด้วย หากลองมองดูแล้ว จะพบว่า เทคโนโลยีมีส่วนในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง Carsten Voecker ได้สรุปไว้ว่า
“โครงการต่าง ๆ ล้วนมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นั่นก็ยิ่งทำให้มาตรฐานที่ถูกคาดหวังไว้ก็สูงขึ้นตามไปด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้น ผมจึงหวังให้อนาคตอันใกล้ข้างหน้านี้ เราจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นในวงการอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งจะกลายเป็นช่วงเวลาที่พวกเราไม่ต้องใช้กระดาษในการเจรจางานกันอีกต่อไป แล้วเราก็จะก้าวข้ามไปอยู่ในจุดที่ทั้งกระบวนการทำงาน ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นออกแบบ ไปยังช่วงทำแบบก่อสร้าง จนถึงขั้นตอนการก่อสร้างของผู้รับเหมา จะถูกจัดการด้วยระบบดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ”
ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่