3 แนวโน้มสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต (Industry) 4.0 ในปี 2020
ทศวรรษใหม่กับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตแบบดิจิตัล เทคโนโลยีกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แต่อุสาหกรรมการผลิตยังไม่พัฒนาตามมากเท่าที่ควร แนวโน้มของเทคโนโลยีทั้งสามเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสารเติมแต่ง ระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตและโรงงานอัจฉริยะ จะยังคงอยู่ต่อไปอีกนาน และสำหรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (ai) ,โดรน, AR/VR,และ Internet of Things (IoT) เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปี 2020 นี้
1.ระบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เริ่มมีการเชื่อมต่อกันในรูปแบบดิจิตัล (Connected Manufacturing)
ปัจจุบันโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลาง เริ่มขยับเข้าสู่กระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ มากขึ้น ส่วนรายใหญ่ก็ได้เข้าสู่กระบวนการนี้ไปก่อนหน้านั้นแล้ว การเข้าสู่กระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติจะช่วยให้การผลิตมีระบบและลดข้อผิดพลาดมากขึ้น ใช้แรงงานจำนวนไม่เยอะ ถือว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตไปมากเลยทีเดียว และยังมีเทคโนโลยีที่นำเข้ามาเป็นกลยุทธ์ในการผลิตเพิ่มขึ้นนำมาใช้ร่วมกันใหกลายเป็นโรงงานอัจฉริยะ มีความเป็นดิจิตัลมากขึ้น เช่น ระบบเซ็นเซอร์ sensors , AI , เทคโนโลยี IoT โดยใช้เทคโนโลยี 5G เข้ามาการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตระหว่างเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพสามารถทำงานได้แบบ “เรียลไทม์” ลดความผิดพลาด ผลิตได้มากแบบเฉพาะเจาะจงในเวลาที่ลดลง
2.นำเข้าระบบประมวลผลที่ทันสมัย ( edge computing ) และระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ ( cybersecurity )
ในการผลิตจะต้องใช้การประมวลผลที่ทันสมัย ซึ่งแตกต่างจากการประมวลผลแบบคลาวด์ (cloud) โดยสิ้นเชิงในกระบวนการทำงาน เช่นการเข้ารหัสและการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่ทำงานด้วยตัวเองบนอุปกรณ์นั้น ๆ มากกว่าใน คลาวด์ (cloud) และไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งซอฟต์แวร์จะถูกอัพเดทอัตโนมัติและการรักษาความปลอดภัยจะดำเนินการจากส่วนกลางแทนโดยผู้ใช้ ฉะนั้นการจะปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบที่ประมวลผลเหนือกว่าหรือหนักกว่าเดิม และจะต้องทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ
อุปกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันถือว่ามีกำลังมากพอจะทำได้ แต่ว่ายังไม่สามารถที่จะประมวลผลได้ตามที่ต้องการเพื่อให้เหมาะสมในแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงการถ่ายโอนข้อมูลและส่งผลลัพธ์ไปมาอย่างรวดเร็ว หากมีอุปกรณ์ที่ประมวลผลทันสมัยขึ้นจะช่วยลดเวลาในการทำงานได้และใช้แบนด์วิดท์ที่น้อยกว่ามาก ซึ่งทำให้มีศักยภาพที่จะรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ดีขึ้น เนื่องจากการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับโรงงานอัจฉริยะ ที่มีการเชื่อมต่อระบบแล้ว และการเชื่อมต่อจะกว้างและใหญ่ขึ้นมากเมื่อเริ่มใช้เทคโนโลยี 5G ที่ทำให้ทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมดทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ดังนั้นถึงแม้ว่า 5G มีข้อได้เปรียบเช่นแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์อีกด้วย
3.ปฎิรูปตลาดแรงงานและการศึกษา เพื่อก้าวเข้าสู่ Industry 4.0
ปัญหาสำคัญในการก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคต คือ โรงงานไม่สามารถหาแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีทักษะที่เพียงพอต่อการพัฒนาโรงงานให้ก้าวไปสู่ดิจิตัล ซึ่งหลายโรงงานยังขาดผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมค่อนข้างเยอะ การขาดแคลนแรงงานที่มีคุณสมบัตินี้ส่งผลต่อผู้ผลิตขนาดกลางจำนวนมาก โดยเฉพาะช่างเทคนิค (technicians) ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญที่จะก้าวไปสู่ระบบโรงงานอัติโนมัติ ถึงแม้จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในโรงงานมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีการกำจัดพนักงานออก โรงงานจะยังคงใช้กำลังคนเพื่อช่วยสร้างเทคโนโลยีที่นำเข้ามาให้เกิดผลจริงตามที่ต้องการ
ปัจจุบัน หุ่นยนต์ (Robot)และระบบอัตโนมัติ (automation) ยังคงมีราคาแพงมาก ผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางยังไม่มีความจำเป็นที่จะนำมาใช้ และ ไม่ใช่วิธีการประหยัดเงิน ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่สามารถเรียกใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์สำคัญยิ่งกว่า บุคลากรเหล่านี้กำลังเป็นที่ต้องการของทุก ๆโรงงานและจะเกิดการแข่งขันกันมากขึ้นที่จะดึงตัวเข้ามาทำงานในตำแหน่งเหล่านั้นเพื่อต่อสู้กับการขาดดุลของพนักงานฝ่ายผลิต ดังนั้นจะจำเป็นต้องมีการปฎิรูปการศึกษาและปรับปรุงตลาดแรงงานให้ไปในทางที่ดีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่กำลังเกษียณ , ผู้หญิง , ผู้ด้อยโอกาส และอื่น ๆ มากมายความหลากหลาย
ผู้ผลิตขนาดเล็กและสถาบันการศึกษาจะต้องให้การสนับสนุนและสร้างความสัมพันธ์กันและกันเพื่อที่จะให้ตลาดแรงงานขยายตัวได้ดีขึ้น และฝึกอบรมแรงงานในคอร์สต่าง ๆ เช่น เวทีพัฒนาท้องถิ่นในเบลเยี่ยม (OECD) , กิจกรรมสัมมนาต่าง ๆ บนเว็บของ ManpowerGroup เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะทางด้านการส่งเสริมและพัฒนากำลังคนในระดับต่างๆ ให้มีทักษะฝีมือสูงขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมทางด้านมาตรฐานต่างๆ อาทิ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานสำหรับ Technology และ Innovation เพื่อรองรับการเข้าสู่ Industry 4.0
" ทั้ง 3 แนวโน้มที่กล่าวมาข้างต้น ที่จะผลักดันไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในปี 2020 นี้ จะยังเป็นแค่การเริ่มต้นที่จะผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการที่แท้จริง ในประเทศไทยต้องมีการปรับตัวสู่ยุค 4.0 โดยขณะนี้ประเทศไทย 4.0 ต้องเน้นเรื่องคน ต้องพัฒนาคนไทย 4.0 ให้มีความรู้ ความสามารถความเป็นสากล ต่อมาคือเรื่องทักษะแรงงาน 4.0 ขณะนี้แรงงานมีทักษะฝีมือค่อนข้างต่ำ ซึ่งในอนาคต แรงงานจึงจำเป็นต้องมีทักษะ องค์ความรู้ รวมถึง ในเรื่องของเทคโนโลยีต่าง ๆ ยิ่งถ้าสามารถนำระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมได้ ระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร และมนุษย์ก็จะเรียกว่าป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ (Connectivity) ซึ่งจะทำให้นำไปสู่ตลาดใหม่ ๆ และเป็นการผลิตที่สามารถควบคุมจำนวนหรือเวลาได้เพิ่มมากขึ้น "
ขอบคุณบทความจาก redshift
ซินเนอร์จี้ซอฟต์ ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการและถูกต้องในประเทศไทยของออโตเดสก์ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามได้ทางเจ้าหน้าที่ซินเนอร์จี้ซอฟต์ที่