Special Articles : BIM101
องค์กรสหประชาชาติได้รายงานว่าในอีก 30 ปีต่อไปข้างหน้านี้จะมีประชากรเพิ่มขึ้น 9.7 ล้านล้านคนบนโลกนี้ โดยประชากร 2 ใน 3 ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมือง ดังนั้นอุตสาหกรรมก่อสร้างจำเป็นจะต้องมีการสร้างอาคารเฉลี่ย 13,000 อาคารในทุกวัน สร้างถนน 700,000 ไมล์และอีกกว่า 90000 สะพานแก่ประชากรที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ไปตลอดจนถึงปี 2050
การเกิดขึ้นของ สมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร หรือ BIM อย่างเป็นทางการ ที่ผ่านการรวมตัวของคนหลากหลายอาชีพ องค์กร เช่น สถาปนิก วิศวกร ภาครัฐ การศึกษาและเอกชน เพื่อกำหนดมาตรฐานกลางของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการออกแบบ (โมเดล) พิมพ์เขียวของโครงการก่อสร้างลักษณะ 3 มิติ (BIM) ทดแทนแบบกระดาษเดิมๆ ไม่เพียงแต่บ่งบอกว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยกำลังถูกเทคโนโลยีดิสรัปชัน ถึงเวลาเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญไปสู่ยุค 5G แต่ระบบดังกล่าวยังมีนัยในเชิงเศรษฐกิจภาพรวมและอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อีกด้วย เพราะประสิทธิภาพงานที่ดีขึ้น เวลาที่ชัดเจน และเม็ดเงินที่ถูกต้องโปร่งใสทั้งจากโครงการของรัฐและเอกชน ย่อมส่งผลต่อการขับเคลื่อนประเทศให้รวดเร็วขึ้น
การเปลี่ยนภาพวาด 2D ไปเป็นแบบจำลอง 3D ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและได้รับความสนใจจากสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ด้วยผลตอบแทนที่มาจากขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสร้างแบบจำลองจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กรและประสานงานภายในโครงการตลอดระยะเวลาการทำงาน แบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) จะช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณสำหรับโครงการได้
BIM หรือ Building Information Modeling เป็นกระบวนการสำหรับการสร้างและจัดการข้อมูลโครงการก่อสร้างตลอดทั้งโครงการ ผลลัพธ์หนึ่งที่สำคัญของกระบวนการนี้คือการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (Building Information Model) ซึ่งจะอธิบายลักษณะทั้งหมดแบบดิจิตอลของการสร้าง การวาดแบบจำลองตามที่รวบรวมข้อมูลและการอัพเดทขั้นตอนสำคัญของโครงการ การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคารแบบดิจิตอลจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาคารสามารถสื่อสารระหว่างกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาได้ ส่งผลให้งานมีมูลค่าที่สูงขึ้น